univerzita.net

นักเรียน

ทำไงดี ? เมื่อเริ่มรู้สึกท้อแท้จนอยากท้อถอย หันหลังให้กับการเรียน

June 5, 2019 by Stanley Evans

ปัญหาการเรียนไม่จบของนักเรียนเป็นอีกหนึ่งเรื่องของสังคมไทยที่มีอยู่จำนวนมาก แม้จะมีข้อกำหนดทางกฎหมายในระดับชั้นขั้นต่ำที่จำเป็นต้องเรียนก็ตาม แต่ก็ต้องยอมรับว่าหลายอย่างในสังคมก็เป็นปัจจัยและส่งผลไม่น้อยที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวนี้ เนื่องจากสิ่งยั่วยุมากมายทั้งเกม การคบเพื่อนและคนในสังคม สิ่งเสพติด ปัญหาการตั้งครรภ์ เหล่านี้เป็นปัญหาหลักที่ทำให้นักเรียนที่กำลังเป็นช่วงวัยหัวเลี้ยวหัวต่อจบอนาคตการเรียนได้ง่าย ๆ และถึงแม้จะมีนักเรียนอีกมากที่ยังคงมุ่งมั่นแน่วแน่ในการเรียนอยู่แต่ก็มักช่วงที่ท้อแท้กับการเรียนได้เหมือนกัน เมื่อเกิดความรู้สึกแบบนี้เราควรทำอย่างไรต่อ ? ท้อแท้หรือแค่ไม่เข้าใจ เมื่อเกิดอาการท้อแท้จนไม่อยากเรียนต่อไปแล้ว ลองทบทวนตัวเองดูใหม่ก่อนว่าอะไรกันแน่ทำให้เราท้อแท้ในการเรียน หลายครั้งพบว่าไม่ได้มาจากปัญหาภายนอกหรือสิ่งยั่วยุในสังคมสักเท่าไหร่นัก แต่อาจเป็นเรื่องในวิชาเรียนเองนั่นแหละ มีหลายคนที่กับบางวิชาเริ่มรู้สึกว่ายาก ไม่ค่อยเข้าใจ และเริ่มไม่สนใจเท่าที่ควร รู้ตัวอีกทีก็ไม่เข้าใจในบทเรียนนั้น ๆ แล้ว และเมื่อไม่เข้าใจก็เริ่มรู้สึกไม่อยากเข้าเรียนวิชานั้น และวิชาอื่นมากขึ้นเรื่อย ๆ ความสามารถในการเรียนแย่ลงเรื่อย ๆ ก็เริ่มท้อแท้คิดว่าตนเองไม่เรียนดีกว่า ไม่อยากฝืนแล้ว ดังนั้นถ้าตอนนี้นักเรียนคนไหนเริ่มรู้สึกว่าตนเองท้อแท้กับการเรียนให้พิจารณาดูว่าเป็นเพราะเหตุนี้หรือไม่ หากใช่ก็ต้องกัดฟันหันหน้าทำความเข้าใจกับบทเรียนใหม่อย่างเร่งด่วนเลย เมื่อเริ่มเข้าใจในบทเรียนแล้ว ความสนุกก็จะมา ความท้อแท้ก็จะหายไปเอง มองหาแรงบันดาลใจใหม่ ๆ อะไรเดิม ๆ มักทำให้เราเบื่อหน่ายและเกิดความรู้สึกท้อแท้ในสิ่งที่ทำอยู่ทุก ๆ วันได้ง่าย เหมือนการเรียนที่เราต้องตื่นนอนเป็นเวลา เรียนวิชาเดิมวนไปมา สถานที่เดิม ครูคนเดิม เพื่อนกลุ่มเดิม และอีกหลายอย่างที่เกี่ยวกับการเรียนที่มันวนลูปไปมาจนเราอยากหยุดการเรียนไปทำอย่างอื่น แต่ก็ไม่รู้จะทำอะไรอยู่ดี ในเมื่อสิ่งเดิม ๆ ทำให้เบื่อขนาดนี้ก็ลองมองหาแรงบันดาลใจใหม่ ๆ หรือกิจกรรมใหม่ ๆ … [Read more…]

Posted in: การเรียน Tagged: นักเรียน, ปัญหาการเรียน, ปัญหาชีวิต

24 ชม. ก่อนวันสอบ 1 คืนสำคัญควรทำอย่างไรดี เรื่องใหญ่ที่นักเรียนต้องรู้ !

May 31, 2019 by Stanley Evans

เรื่องสอบนั้นเป็นเรื่องใหญ่ และเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญของเด็กไทยก็ว่าได้ ไหนจะการทำข้อสอบไม่ได้ ผลสอบที่ไม่ได้ดังใจตนเองและพ่อแม่ ลุกลามกลายเป็นเรื่องเครียดในชีวิตของนักเรียนหลายคนเลยทีเดียว การทำข้อสอบให้ได้คะแนนดี ๆ จึงเป็นเหมือนอีกหนึ่งความใฝ่ฝันของนักเรียนไทยไปเรียบร้อยแล้วนั่นเอง เมื่อเราต่างให้ความสำคัญกับการสอบขนาดนี้การเตรียมตัวก่อนเข้าสอบจริงจึงเป็นหนึ่งในเรื่องที่จำเป็นต้องรอบคอบให้มากโดยเฉพาะกับการอ่านหนังสือ และกับช่วงเวลาชี้เป็นชี้ตายอย่างช่วง 24 ชม. หรือ 1 คืนก่อนสอบนั่นเอง มีนักเรียนจำนวนมากเกิดคำถามขึ้นมาว่าตกลงแล้ว 1 คืน ก่อนวันสอบเราควรเตรียมตัวอย่างไรกันแน่ วันนี้เรามีข้อแนะนำที่เราต่างมองข้ามไปมาย้ำชัดให้มั่นใจกันอีกที อ่านแค่ทบทวน เชื่อว่านักเรียนจะต้องเคยได้ยินกันมาหนาหูแล้วว่า 1 คืนก่อนวันสอบนั้นให้อ่านหนังสือไปเลยทั้งคืน อ่านรวดเดียวไปเลยตั้งแต่ต้นจนจบเพราะมันจะจำได้แม่นสามารถนำไปทำข้อสอบได้ดี จริง ๆ แล้วก็มีใครหลายคนทำแล้วได้ผลดีจริง ๆ ต่อการสอบ แต่มันก็ไม่ได้เป็นเหมือนกันทุกคน อย่าแน่ใจว่าเราจะเป็นหนึ่งในนั้นเพราะมันไม่ชัวร์เอาเสียเลย มันเสี่ยงเกินไป อีกทั้งวิธีการดังกล่าวนี้เป็นการจดจำแบบชั่วคราวสุด ๆ หลังจากสอบแล้วเราก็จะลืมไปเกือบหมด ไม่สามารถนำความรู้ไปต่อยอดเป็นพื้นฐานในระดับที่ยากกว่าของวิชานั้น ๆ นั้น เพราะมันคือการจำข้อมูลแบบยัดเหยียด สมองจะไม่จำไว้นาน ดังนั้นเราควรอ่านมาก่อนอย่างสม่ำเสมอให้หมดเสียก่อน แล้ว 1 คืนก่อนสอบก็อ่านแค่ทบทวนแบบสบาย ๆ ก็พอ นอน ยังไงคุณก็ต้องนอน ! การนอนมันสำคัญและจำเป็นอย่างมากต่อทั้งร่างกายและสมอง อย่าเสี่ยงให้ตนเองอดนอนเพราะจะทำให้ร่างกายไม่ตื่นตัว สมองล้า เหมือนแบต ฯ … [Read more…]

Posted in: สาระน่ารู้ Tagged: การสอบ, นักเรียน, พักผ่อน

การท่องจำ และ การทำความเข้าใจ แบบไหนดีกว่ากัน เลือกใช้อย่างไรให้ถูกวิธี ?

May 22, 2019 by Stanley Evans

เป็นอีกหนึ่งประเด็นถกเถียงกันอย่างมากมาโดยตลอดในวงการการศึกษาของไทย ว่าระหว่างวิธีการท่องจำ กับ วิธีการทำความเข้าใจ แบบไหนเป็นวิธีที่ดีกว่ากันสำหรับการเรียนการสอน ? บ้างก็ว่าไม่ท่องจำแล้วเด็กจะเอาข้อมูลมาจากไหน บ้างก็ว่าเนื้อหาตั้งเยอะใครจะจำได้หมด จำเดี๋ยวก็ลืม เด็กไม่ได้ฝึกคิด จากที่ฟังดูแล้วทั้ง 2 ความคิดก็มีเหตุผลในตัวเองกันทั้งคู่ แต่สุดท้ายในปัจจุบันก็ยังมีความเห็นต่างกันไม่สามารถหาตรงกลางกันได้อยู่ดีกับเรื่องนี้ มีทั้งนักเรียน ครู นักวิชาการการศึกษามากมายก็คอยนำเหตุผลมาหักล้างหรือเสนอกันอยู่เรื่อย ๆ นักเรียนหลายคนก็มีข้อสงสัยและสับสนอยู่เช่นเดียวกันว่า เราควรจะใช้วิธีไหนในการเรียนกันแน่ ท่องจำ หรือ ทำความเข้าใจ ? เราลองมาวิเคราะห์กันดูบ้างดีกว่า การท่องจำไม่ใช่เรื่องแย่ ข้อดีที่อาจมองข้ามไป คนรุ่นใหม่หลายคนมักคิดว่าการเรียนหนังสือด้วยวิธีการท่องจำเป็นสิ่งที่ล้าหลังอย่างมาก มองว่าเป็นวิธีที่ไม่ช่วยพัฒนานักเรียนทำให้ระบบการศึกษาย่ำอยู่กับที่ถึงขั้นนั้นกันเลยทีเดียว แต่คิดว่าความคิดนี้จะสุดโต่งไปหน่อย เพราะหากลองคิดตามให้ดีในการเรียนนั้นไม่ได้มีแต่วิชาที่ต้องใช้การคำนวณโจทย์ที่ต้องใช้ความเข้าใจเป็นส่วนมากเท่านั้น แต่เรายังมีวิชาประวัติศาสตร์ พระพุทธศาสนา ภาษาไทย ชีววิทยา และอีกหลายวิชาที่เน้นเนื้อหา วิชาเหล่านี้ไม่ได้มีการต้องใช้การคิดคำนวณ หรือการทำความเข้าใจแบบตีโจทย์ หากไม่ใช้วิธีการท่องจำ หรืออ่านย้ำ ๆ ก็นึกไม่ออกเหมือนกันว่าเนื้อหาที่มีในตำราจะไปอยู่ในหัว หรือใช้ในการสอบได้อย่างไร ? อีกทั้งวิธีการเรียนแบบเน้นจำนั้นเป็นตัวช่วยในการฝึกสมองลดโอกาสเป็นอัลไซเมอร์ และเป็นวิธีช่วยให้ตอบสนองต่อข้อมูลเมื่อถูกถามได้เร็วนั่นเอง การทำความเข้าใจไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด ต้องบอกว่าหลายคนชอบและสนับสนุนยืนอยู่ข้างวิธีการเรียนแบบเน้นทำความเข้าใจอย่างมากเพราะรู้สึกสนุกกับวิชาแบบต้องคิดคำนวณ แต่ก็มีนักเรียนอีกหลายคนเช่นกันที่ไม่ชอบสักเท่าไหร่กับวิธีการเรียนแบบนี้นั่นเพราะไม่ถนัดไม่ชอบวิชาที่ต้องคิด แต่อย่างไรก็เลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเรียนอยู่ดี โดยเฉพาะกับวิชาคณิตฯ ที่ไม่ว่าระดับชั้นไหนก็ยังต้องมีเรียนอยู่ จริง ๆ แล้วการเรียนแบบทำความเข้าใจหรือเน้นการคิดการตีโจทย์นั้นช่วยให้สมองมีการพัฒนาขึ้น … [Read more…]

Posted in: การเรียน Tagged: คำนวณ, ท่องจำ, นักเรียน

เคล็ดลับที่นักเรียนต้องรู้ อ่านหนังสืออย่างไรให้นานและจำได้ดี ?

May 15, 2019 by Stanley Evans

เมื่อพูดกันถึงเรื่องอ่านหนังสือ เราก็มักได้ยินกันว่าคนไทยอ่านหนังสือไม่เกิน 8 บรรทัดต่อปี ฟังดูแล้วช่างเป็นประโยคที่ทำเอาสะดุ้งและตั้งข้อสงสัยกันยกใหญ่ว่าจริงไหม แต่จะจริงหรือไม่ก็ทำให้ใครหลายคนย้อนกลับมาดูตัวเองเช่นกันว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มคนในค่าเฉลี่ยนั้นหรือเปล่า บางคนชอบอ่านเป็นนิสัย หลายคนก็ตกใจว่าตนเองไม่ค่อยอ่านอะไรเท่าไหร่เลยก็มี แต่นั่นไม่ใช่กับกลุ่มนักเรียนแน่นอน เพราะต่อให้ไม่ชอบการอ่านสักแค่ไหนก็เลี่ยงไม่ได้อยู่ดีกับตำราเรียนที่ต้องอ่านเนื้อหาเสมอ แต่ก็อีกนั่นแหละปัญหาเรื่องการอ่านก็ย่อมมีตามมาอีกเช่นกันโดยเฉพาะกับช่วงสอบ ไม่ว่าจะสอบปลายภาค กลางภาค หรือสอบเก็บคะแนนทั่วไป เนื้อหาของหนังสือที่เกือบจะไม่มีอยู่ในหัวเพื่อใช้สอบเป็นเรื่องที่ทำให้นักเรียนจำนวนมากพลาดกับคะแนนที่ควรจะได้มานักต่อนักแล้ว เพราะไม่สามารถทนอ่านหนังสือได้นาน ๆ และอ่านเท่าไหร่ก็จำไม่ได้สักที วันนี้เรามีเคล็ดลับเล็ก ๆ น้อยมาให้ลองนำไปใช้แก้ปัญหากันดู ! กำหนดจำนวนหน้า ดีกว่าจำนวนชั่วโมง ช่วงเวลาในการอ่านหนังสือไม่ว่าจะช่วงก่อนนอน หรือในวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ ก็ตาม นักเรียนหลายคนมักใช้วิธีกำหนดตารางเวลาไว้ว่ากี่โมงจะอ่านหนังสือโดยในแต่ละครั้งก็จะกำหนดเวลาเอาไว้ว่าจะใช้เวลาอ่านกี่นาทีกี่ชั่วโมงใช่หรือไม่ เคยสังเกตกันไหมว่ามักจะอ่านได้ไม่ถึงกำหนดเวลาที่วางไว้ก็เลิกอ่านแล้ว นอนบ้างล่ะ เล่นโทรศัพท์บางล่ะ เพราะเราจะเริ่มท้ออยู่ในใจในเวลาที่มากไป หรือบางครั้งอ่านจนครบเวลาก็จริงแต่ก็จำไม่ค่อยได้เพราะมัวแต่กังวลเรื่องเวลาอาจอยากให้หมดเร็ว ๆ บ้าง หรือเดินไปอย่างช้า ๆ บ้าง วอกแวกบ่อยก็มี อยากให้ลองเปลี่ยนจากกำหนดเวลามาเป็นกำหนดจำนวนหน้าของแต่ละวิชาดู อาจไม่ต้องเยอะมากในแต่ละวัน สัก 10 – 15 หน้า ต่อวิชา แล้วค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในภายหลัง วิธีนี้เราจะไม่กังวลเรื่องเวลา รู้สึกอยากจะเก็บรายละเอียดเนื้อหามากขึ้น สงสัย … [Read more…]

Posted in: สาระน่ารู้ Tagged: การเรียน, นักเรียน, วิชาเรียน

สายวิทย์ VS สายศิลป์ ปัญหาใหญ่ของเด็ก ม.3

May 6, 2019 by Stanley Evans

ในทุกช่วงของชีวิตมักจะมีเรื่องให้เราต้องตัดสินใจเลือกเสมอ ช่วงวัยเรียนเองก็เช่นเดียวกัน และไม่ใช่แค่เด็ก ม.6 เท่านั้นที่ต้องปวดหัวและครุ่นคิดวุ่นวายกับการเลือกคณะก่อนเข้าเรียนในรั้วมหาวิทยาลัย เด็ก ม.3 ก็ต้องถึงเวลาเลือกเหมือนกัน เพราะอย่างที่รู้ว่าการเรียนในระดับ ม.ปลายนั้น จะต่างออกไปกับการเรียนในช่วง ม.ต้น ก็ตรงที่มีการเรียนตามสาย นั่นคือ สายวิทย์ และ สายศิลป์ ซึ่งเป็นทางเลือกที่เล่นเอาสับสนกันอยู่พอสมควรสำหรับนักเรียน ม.3 ที่กำลังต้องขึ้น ม.ปลาย น้อง ๆ นักเรียนหลายคนเมื่อเวลาใกล้จบในช่วงมัธยมต้นจึงต้องคิดหนัก เริ่มกังวลและลังเลตัดสินไม่ได้สักทีไม่รู้ว่าจะเลือกเรียนสายไหน ไม่รู้ว่าระหว่างสายวิทย์กับสายศิลป์เรียนแบบไหนถึงจะเหมาะกับตัวเอง ปัญหานี้อาจจะเล็กลงถ้าได้ลองพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้ ! สายวิทย์ – สายศิลป์ เขาเรียนอะไรกัน ? มาเริ่มต้นกันที่สายวิทย์ ชื่อก็บอกและชี้ชัดอยู่แล้วว่าสายวิทย์ นั่นหมายความว่าส่วนใหญ่แล้วจะหนักไปทางวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา นี่คือวิชาหลักที่จะไม่มีเรียนมาก่อนในช่วงมัธยมต้น และจะไม่มีอยู่ในสายศิลป์แน่นอน โดยทั้งฟิสิกส์และเคมีนั้นล้วนแต่เป็นเรื่องของการคำนวณทั้งสิ้น บอกเลยว่าหากน้อง ๆ นักเรียนคนไหนที่ไม่มีใจกับการคำนวณหรือเกลียดตัวเลขและการทดลองคงต้องคิดหนักสักหน่อย ส่วนชีววิทยานั้นจะเน้นไปในเรื่องของสิ่งมีชีวิต เป็นการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับธรรมชาติ เป็นวิชาที่น่าสนใจอย่างมากสำหรับน้อง ๆ คนไหนที่ชอบและอยากรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตบนโลก วิวัฒนาการความเป็นมาเป็นไป ฯลฯ ส่วนสายศิลป์นั้นเมื่อก่อนผู้ใหญ่หลายคนมีความเข้าใจผิดกันอยู่บ่อยครั้งว่าน่าจะเรียนเกี่ยวกับศิลปะประเภทวาดรูปอะไรพวกนี้ แต่จริง ๆ … [Read more…]

Posted in: การเรียน Tagged: นักเรียน, สายวิทย์, สายศิลป์

“ปรับทัศนคติ” รับมือกับวิชาที่ไม่ชอบ ให้การเรียนไปรอดไม่สะดุด

April 29, 2019 by Stanley Evans

คนเราต้องมีสิ่งที่ชอบและไม่ชอบด้วยกันทั้งนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าความรู้สึกนี้จะรวมไปถึงเรื่องการเรียนด้วย เคยไหม ? ที่ในแต่ละสัปดาห์ของการเรียนมันจะต้องมีอย่างน้อย 1-2 วันที่เรารู้สึกไม่ดีเอาเสียเลยในบางชั่วโมงเรียน เพราะต้องทนเรียนกับวิชาที่ไม่ชอบนั่นเอง ปัญหานี้เชื่อว่านักเรียน 99% จะต้องเคยประสบมาแล้วไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน แล้วก็นักเรียนจำนวนมากเสียด้วยสิที่เมื่อต้องเจอและเรียนกับวิชาที่ไม่ชอบมักจะรู้สึกอึดอัด เป็นทุกข์กับมันอย่างมาก เวลาที่กว่าจะหมุนผ่านไปได้แต่ละนาทีมันช่างยาวนานผิดปกติเหลือเกิน อาการเหมือนถูกคุมขังอย่างไรอย่างนั้นเลยใช่หรือไม่ วันนี้เรามีวิธีรับมือกับวิชาที่ไม่ชอบมาฝากกัน ง่าย ๆ เพียงแค่ “ปรับทัศนคติ” !? หาสาเหตุให้เจอ แก้ใหม่ให้เป็นบวก บางคนอาจบอกว่าไม่ชอบก็คือไม่ชอบ ไม่มีเหตุผลอะไรทั้งนั้น จริง ๆ แล้วทุกอย่างล้วนมีสาเหตุด้วยกันทั้งนั้น ความรู้สึกไม่ชอบในวิชาเรียนบางวิชาก็ไม่ต่างกัน ลองค่อย ๆ คิดทบทวนย้อนกลับดูว่าจุดไหนที่ทำให้เราเริ่มไม่ชอบ เช่น วิชาคณิตศาสตร์ ไม่ชอบตัวเลขเยอะ ๆ เลย ไหนจะต้องมานั่งคำนวณอีก รู้สึกว่าปวดหัว งง หรือ วิชาภาษาอังกฤษที่คำศัพท์ไม่เข้าหัวเลย ไม่รู้ต้องเรียงประโยคแบบไหนถึงจะถูก กล้า ๆ กลัว ๆ ที่จะพูด ฟังที่ครูสอนก็ไม่ทัน ไม่รู้เรื่องไปหมด เป็นต้น เมื่อหาต้นเหตุเจอแล้วลองแก้ด้วยการปรับทัศนคติใหม่ให้เป็นมุมบวกดู อย่างวิชาคณิตฯ ไม่ชอบตัวเลข ไม่ชอบการคิด … [Read more…]

Posted in: การเรียน Tagged: นักเรียน, ปัญหาการเรียน, วิชาเรียน

Copyright © 2023 univerzita.net.

Omega WordPress Theme by ThemeHall