การท่องจำ และ การทำความเข้าใจ แบบไหนดีกว่ากัน เลือกใช้อย่างไรให้ถูกวิธี ?

เป็นอีกหนึ่งประเด็นถกเถียงกันอย่างมากมาโดยตลอดในวงการการศึกษาของไทย ว่าระหว่างวิธีการท่องจำ กับ วิธีการทำความเข้าใจ แบบไหนเป็นวิธีที่ดีกว่ากันสำหรับการเรียนการสอน ? บ้างก็ว่าไม่ท่องจำแล้วเด็กจะเอาข้อมูลมาจากไหน บ้างก็ว่าเนื้อหาตั้งเยอะใครจะจำได้หมด จำเดี๋ยวก็ลืม เด็กไม่ได้ฝึกคิด จากที่ฟังดูแล้วทั้ง 2 ความคิดก็มีเหตุผลในตัวเองกันทั้งคู่ แต่สุดท้ายในปัจจุบันก็ยังมีความเห็นต่างกันไม่สามารถหาตรงกลางกันได้อยู่ดีกับเรื่องนี้ มีทั้งนักเรียน ครู นักวิชาการการศึกษามากมายก็คอยนำเหตุผลมาหักล้างหรือเสนอกันอยู่เรื่อย ๆ นักเรียนหลายคนก็มีข้อสงสัยและสับสนอยู่เช่นเดียวกันว่า เราควรจะใช้วิธีไหนในการเรียนกันแน่ ท่องจำ หรือ ทำความเข้าใจ ? เราลองมาวิเคราะห์กันดูบ้างดีกว่า การท่องจำไม่ใช่เรื่องแย่ ข้อดีที่อาจมองข้ามไป คนรุ่นใหม่หลายคนมักคิดว่าการเรียนหนังสือด้วยวิธีการท่องจำเป็นสิ่งที่ล้าหลังอย่างมาก มองว่าเป็นวิธีที่ไม่ช่วยพัฒนานักเรียนทำให้ระบบการศึกษาย่ำอยู่กับที่ถึงขั้นนั้นกันเลยทีเดียว แต่คิดว่าความคิดนี้จะสุดโต่งไปหน่อย เพราะหากลองคิดตามให้ดีในการเรียนนั้นไม่ได้มีแต่วิชาที่ต้องใช้การคำนวณโจทย์ที่ต้องใช้ความเข้าใจเป็นส่วนมากเท่านั้น แต่เรายังมีวิชาประวัติศาสตร์ พระพุทธศาสนา ภาษาไทย ชีววิทยา และอีกหลายวิชาที่เน้นเนื้อหา วิชาเหล่านี้ไม่ได้มีการต้องใช้การคิดคำนวณ หรือการทำความเข้าใจแบบตีโจทย์ หากไม่ใช้วิธีการท่องจำ หรืออ่านย้ำ ๆ ก็นึกไม่ออกเหมือนกันว่าเนื้อหาที่มีในตำราจะไปอยู่ในหัว หรือใช้ในการสอบได้อย่างไร ? อีกทั้งวิธีการเรียนแบบเน้นจำนั้นเป็นตัวช่วยในการฝึกสมองลดโอกาสเป็นอัลไซเมอร์ และเป็นวิธีช่วยให้ตอบสนองต่อข้อมูลเมื่อถูกถามได้เร็วนั่นเอง การทำความเข้าใจไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด ต้องบอกว่าหลายคนชอบและสนับสนุนยืนอยู่ข้างวิธีการเรียนแบบเน้นทำความเข้าใจอย่างมากเพราะรู้สึกสนุกกับวิชาแบบต้องคิดคำนวณ แต่ก็มีนักเรียนอีกหลายคนเช่นกันที่ไม่ชอบสักเท่าไหร่กับวิธีการเรียนแบบนี้นั่นเพราะไม่ถนัดไม่ชอบวิชาที่ต้องคิด แต่อย่างไรก็เลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเรียนอยู่ดี โดยเฉพาะกับวิชาคณิตฯ ที่ไม่ว่าระดับชั้นไหนก็ยังต้องมีเรียนอยู่ จริง ๆ แล้วการเรียนแบบทำความเข้าใจหรือเน้นการคิดการตีโจทย์นั้นช่วยให้สมองมีการพัฒนาขึ้น … [Read more…]